หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2553

     การสัก (Tattoo) เป็นการใช้เหล็กแหลมจุ้มหมึกหรือน้ำมันแทงที่ผิวหนังให้เป็นอักขระเครื่องหมาย หรือลวดลาย โดยการสักในแต่ละวัฒนธรรมต่างก็มีความหมายแตกต่างกันไป
                                           

     การสัก หมายถึง การใส่หมึกสีที่ลบไม่ออกลงไปใต้ผิวหนังบริเวณ ที่ต้องการ ชาวโพลีนีเชีย และชายญี่ปุ่นโบราณนั้นทำการสักโดยใช้กลุ่มเข็มและไม้ไผ่แหลมๆจิ้มผิวหนัง ด้วยมือ แต่ปัจจุบันการสักพัฒนาไปมาก เครื่องมือที่เป็นที่นิยมที่สุดเป็นเข็มที่ใช้มอเตอร์ในการทำให้ขยับแทงใน ผิวหนังลึกระหว่าง0.6-22 มิลลิเมตร เมื่อแทงลงไปหมึกจะแพร่กระจายไปสู่เนื้อเยื่อ ดูดซึมเก็บสะสมไว้ โอกาสที่จะเกิดปฏิกริยาที่เป็นเชิงลบจากหมึกที่ใช้สักมีน้อยมาก โดยปกติแล้วสิ่งแปลกปลอมจะถูกขจัดจากร่างกายโดยใช้กลไกป้องกันตามธรรมชาติ แต่อนุภาคของหมึกนั้นใหญ่เกินกว่าที่จะถูกขจัดออกไปด้วยกลไกนี้ได้ 
                                            

     ความเป็นมาของการสัก  การสักเป็นเรื่องที่มีการปฏิบัติสืบต่อกันมาในหลายๆประเทศเป็นศตวรรษๆแล้ว มีเป้าหมายหลักเพื่อประดับร่างกาย แสดงสถานภาพทางสังคม และบอกเผ่าที่อยู่ไปจนถึงการลงโทษและแสดงสถานภาพชั้นต่ำในสังคม วีรบุรุษที่ยิ่งใหญ่ในญี่ปุ่นหลายคนมีรอยสักทั่วตัว และลวดลายบางลายก็สืบทอดมาถึงปัจจุบัน
     ปัจจุบันการสักทั่วตัวอาจทำให้ถูกมองว่าเป็นพวกยากูซ่า นักเลง มาเฟีย ซึ่งการสักได้แพร่หลายไปทางตะวันตกอย่างช้าๆ เนื่องมาจากการเดินทางไปสำรวจมหาสมุทรแปซิฟิกใต้ และโพลีนีเชียของกัปตันเจมส์ คุก ในศตวรรษที่ 18 การสักยังคงเป็นที่แพร่หลายมากในปัจจุบันถึงขนาด5% ของประชากรทั้งหมดในอเมริกาจะมีรอยสักอย่างน้อย 1 ราย
                                           

     การสักของแต่ละประเทศ

          ประเทศกรีก  ในสังคมกรีก การสักจะทำเฉพาะใบหน้าของทาส และอาชญากร ต่อมาเริ่มแพร่หลายมากขึ้นทั่วทวีปยุโรป จนกระทั่ง ค.ศ. 787 สันตะปาปาฮัดเดรียนที่หนึ่ง ได้ประกาศห้ามผู้ที่นับถือคริสต์ศาสนา สักบนใบหน้า เนื่องจากพระผู้เป็นเจ้าสร้างมนุษย์ขึ้นมา การมีรอยสักเช่นนี้จึงเป็นการลบหลู่ต่อพระผู้เป็นเจ้า ตามที่ปรากฏในพระคริสตธรรมคัมภีร์ ภาคพันธสัญญาเดิม เลวีนิติ (19: 28) “เจ้าอย่าเชือดเนื้อของเจ้าเพราะเหตุมีคนตาย หรือสักเป็นเครื่องหมายใดๆ ลงที่ตัวเจ้า เราคือพระเจ้า” เนื่องจากการสักมีนัยยะของการหลงใหลที่ก่อให้เกิดความต้องการทางเพศ (fetishism) และการบูชาวัตถุ (worship of idol) ซึ่งเป็นข้อห้ามหนึ่งในบัญญัติสิบประการ 

           ประเทศญี่ปุ่น  ในญี่ปุ่น การสักหรือที่เรียกว่า Irezumi แปลว่า การเติมหมึกนั้น คาดว่าเริ่มปรากฏในประมาณศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสตกาลจากหลักฐานทางโบราณคดีที่ ขุดค้นพบ ต่อมาในคริสต์ศตวรรษที่ 8 การสักถูกใช้เสมือนการจำแนกและประทับตราคนกลุ่มต่างๆ เช่น เพชฌฆาต สัปเหร่อ อาชญากร จนกระทั่งคริสต์ศตวรรษที่ 17 การสักแบบ Horibari ที่มีลวดลายประดับประดา (decorative tattoo) ทั่วร่างกายตลอดจนศีรษะ เริ่มปรากฏขึ้นจนกลายเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายใน ค.ศ. 1750 โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมู่พวก ‘eta’ ซึ่งเป็นชนชั้นที่มีฐานะทางสังคมต่ำที่สุดในขณะนั้น ลวดลายที่ใช้นิยมนำมาจากจิตรกรรมที่มีชื่อเสียงในยุคนั้น ตลอดจนเทพต่างๆ ตามความเชื่อทางศาสนา หรือนิทานพื้นบ้าน

           ประเทศไทย  ในประเทศไทย จุดประสงค์ในการสักหลากหลาย เช่น การสักหรือการสักเลกนั้นเป็นการทำเครื่องหมายที่ข้อมือ เพื่อแสดงว่าได้ขึ้นทะเบียนเป็นชายฉกรรจ์หรือไพร่หลวงที่มีสังกัดกรมกองแล้ว จนกระทั่งยกเลิกไปในสมัยรัชการที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ส่วนการสักหน้าผาก หรือการสักท้องแขนใช้เฉพาะกับผู้ต้องโทษจำคุก เพื่อประจานความผิดตามกฎมณเฑียรบาล จนยกเลิกไปในสมัยเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 รวมทั้งการสักยันต์เพื่อปกป้องคุ้มครองจากภยันตรายเช่นเดียวกับพระเครื่อง หรือเครื่องรางของขลังอื่นๆ ตลอดจนเมตตามหานิยม

                                           

     ประเภทของการสัก

  • ทริบอล สไตล์แฟนตาซี สไตล์ - เป็นการผสมผสานทุกรูปแบบไว้ด้วยกันตามที่สร้างสรรค์ขึ้น
  • ทริบอล สไตล์ - มีลักษณะเป็นลวดลายเล็กๆ เช่น เถาวัลย์ ซึ่งมักประดับอยู่บนข้อมือ นิ้ว ข้อเท้า
  • ยุโรป สไตล์ - เป็นภาพเหมือนลงแสงเงา คล้ายกับภาพเหมือนบุคคล
  • เจแปน สไตล์ - มีลวดลายที่บ่งบอกความเป็นตะวันออก เช่น ปลาคาร์พ มังกร
  • เวิร์ด สไตล์ - มีตัวอักษรที่มีความหมาย หรือไม่มีความหมายก็ได้ บางทีก็อ่านไม่รู้เรื่องเช่นงานแนวแอมบริแกรม
  • ไกเกอร์ สไตล์ - ลวดลายนามธรรม รวมถึงเฉพาะกลุ่มเช่นฮิปฮอป
  • พังค์ สไตล์ - ลายสักที่ไม่เน้นสีสัน แต่เน้นลวดลายสีดำมากกว่า โดยลายที่นิยม ได้แก่ ดาวแฉก และตัวอักษรโบราณ หรือตัวอักษรในคัมภีร์
  • ฮาร์ดคอร์ สไตล์ - ใกล้เคียงกับ พังค์ สไตล์แต่จะมีความเหมือนจริงมากกว่า
  • อินดี้ สไตล์ - ไม่มีแนวทางชัดเจน ขึ้นอยู่กับรสนิยมส่วนตัว 
                                          

     วิธีการสัก  ปัจจุบันการการสักพัฒนาไปมาก เครื่องมือที่เป็นที่นิยมที่สุดเป็นเข็มที่ใช้มอเตอร์ในการทำให้ขยับแทงใน ผิวหนังลึกระหว่าง0.6-22 มิลลิเมตร เมื่อแทงลงไปหมึกจะแพร่กระจายไปสู่เนื้อเยื่อ ดูดซึมเก็บสะสมไว้ โอกาสที่จะเปิดปฏิกิริยาที่เป็นเชิงลบจากหมึกที่ใช้สักมีน้อยมาก โดยปกติแล้วสิ่งแปลกปลอมจะถูกขจัดจากร่างกายโดยใช้กลไกป้องกันตามธรรมชาติ แต่อนุภาคของหมึกนั้นใหญ่เกินกว่าที่จะถูกขจัดออกไปด้วยกลไกนี้ได้
         ขณะเดียวกันการสักอาจจะก่อให้เกิดอันตรายจากการติดเชื้อโรคชนิด ต่างๆ เช่น impetigo, staph infection, cellulitis ตลอดจนปฏิกิริยาจากสีซึ่งสักลงไปปัจจุบันใช้สารที่นิยมใช้เป็นสีหลายชนิดมัก เป็นโลหะหนัก เช่น สารปรอท แร่เหล็ก แร่โคบอลด์ สารเหล่านี้ทำให้เกิดปัญหาบางอย่างโดยเฉพาะสารสีแดง (cinnabar) ของโลหะจะพบได้บ่อยที่สุด




                                           


     การลบลอยสัก   การสักเป็นการทำให้เกิดสีถาวร การลบรอยสักอาจจะลบออกไม่หมดดังนั้นก่อนที่จะสักต้องคิดให้รอบครอบก่อน สำหรับวิธีการลบรอยสักมีดังนี้

  • การผ่าตัดออก (SURGICAL EXCISION): เหมาะในรายเป็นรอยสักที่มีขนาดเล็ก หรือเป็นจุดๆ จะได้มีแผลที่มีขนาดเล็ก แต่ในรายที่มีรอยสักขนาดใหญ่ อาจจะใช้ตัวขยายเนื้อ (TISSUE EXPANSION) ช่วยเหลือได้
  • การกรอผิวด้วยเครื่องกรอผิว (DERMABRASION): ในรายที่เป็นรอยสักมืออาชีพ การใช้การกรอผิวอย่างเดียว หรือร่วมกับการใช้เกลือแกงบริสุทธิ์จะช่วยให้ได้ผลดี ซึ่งในรายที่สักตื้นๆ การกรอผิวมากกว่าสองครั้งสามารถให้ได้ผลดีแผลเป็นน้อย ซึ่งในการทำครั้งที่สอง ควรจะรอประมาณ 3 ถึง 6 เดือน
  • การลอกด้วยสารเคมี (CHEMICAL PELING): มักใช้กรดบางชนิด หรือสาร PHENOL ทำให้เกิดเป็นรอยแผลไฟไหม้ขึ้นบริเวณรอยสัก แต่วิธีนี้มักจะมีผลแทรกซ้อนสูง จึงไม่ค่อยใช้กัน
  • การสักเพิ่มขึ้น (OVERTATTOOING OR RETATTOOING)
  • การลบด้วยไฟฟ้า (ELECTRIC CAUTERY)
  • การลบด้วยเครื่องเลเซอร์ (LASER BEAM): ที่นิยมใช้กันได้แก่ Q-SWITCHEDND-YAG และ Q-SWITCHED RUBY LASER ซึ่งมักจะได้ผลดีในรายที่เป็นสีน้ำเงิน และดำ ซึ่งวิธีนี้ได้ผลดี และมีผลข้างเคียงเช่นกัน ได้แก่ ผิวหนังเป็นรอยริ้ว หรือเป็นรอยด่างขาว 
                                           

     สาเหตุที่คนชอบสัก  
  • ใช้รอยสักเป็นเครื่องแสดงถึงการผ่านอายุ (เช่น จากวัยเด็กขึ้นเป็นผู้ใหญ่เต็มตัว)
  • อาจใช้เพื่อเป็นทางออกของจิตวิญญาณ หรือการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์
  • อาจใช้เป็นสัญลักษณ์เฉพาะขององค์กร
  • บางทีก็ใช้รอยสักเป็นสัญลักษณ์ของการแข็งข้อหรือการปฏิวัติต่อต้านพ่อแม่หรือสังคม
  • นอกจากนี้ยังมีคนที่ต้องการสักเพราะต้องการให้รอยสักเป็นอนุสรณ์ของคนที่รักหรือแสดงความรักอย่างในพวกที่สักเป็นชื่อคน
  • หรือบางทีอาจจะสักเพียงเพราะเห็นว่าลายสักนั้นถูกใจโดยไม่จำเป็นต้องเกี่ยวข้องกับพิธีกรรมหรือใช้เป็นสัญลักษณ์ใดๆเลย
  • ส่วนการสักเดี๋ยวนี้จะเจ็บน้อยกว่าหรือมากกว่าในอดีตนั้น น่าจะต้องดูบริเวณที่สักเป็นหลัก ถ้าอยู่ใกล้กระดูกอย่างข้อเท้า ซี่โครง และกระดูกสันหลังจะเจ็บกว่าที่อื่นๆ ส่วนที่มีเนื้อมากมักจะไม่ค่อยเจ็บ
                                             

ขอขอบคุณข้อมูลจาก 

-  วิกิพีเดีย 

คลังปัญญาไทย